พระอาจารย์
2/34 (530925C)
(แทร็กชุดต่อเนื่อง)
25 กันยายน 2553
(ช่วง 4)
(หมายเหตุ : ต่อจากแทร็ก 2/34 ช่วง 3
มันไม่ใช่วิถีชีวิตแล้ว
แต่เรียกว่าวิถีธรรม ...เพราะวิถีชีวิตนั้นจะเป็นไปโดยธรรม และเพื่อธรรม และเป็นธรรม
และเพื่อธรรมในตัวของมันตลอดทุกอิริยาบถ
เพราะนั้นครรลองชีวิตของพวกเรานี่
ถึงว่าการเจริญสติหรือว่าแม้แต่ที่เราแนะนำนี่ เราจะไม่ไปบอกให้ปรับปรุง ดัดแปลง
แก้ไขวิถีชีวิตเลย ...เป็นยังไงก็ให้เป็นอย่างงั้น เคยทำอะไรก็ให้ทำอย่างนั้น
เอาความเป็นไปตอนนี้เป็นมาตรฐาน เอาชีวิตเราตอนนี้เป็นมาตรฐานอย่างนี้
แต่ให้รู้เข้าไป ...ไม่ต้องเปลี่ยน ไม่ต้องแก้อะไร ...รู้ตรงๆ ไปเลย
แล้วจนถึงครรลองที่เข้าอยู่ในวิถีแห่งมรรคแล้ว
โดยตัววิถีนี้จะเป็นวิถีธรรมเอง ...มันจะพาเข้าสู่จุดสูงสุด
โดยว่ามันจะสงเคราะห์เข้ามาโดยเหตุปัจจัย
ไม่ใช่เราต้องไปวิ่งหาอาจารย์
ไม่ต้องวิ่งหาสถานที่ ไม่ต้องไปวิ่งหาอะไร ...มันจะเป็นเหตุปัจจัยมาสงเคราะห์ให้เราไปตามครรลองของธรรมนั้นๆ เอง
ไม่มีใคร
ไม่มีพระเจ้าองค์ไหนมาสรรเต่ง ไม่มี “เรา” เป็นคนสรรแต่งวิถีนี้ ...นั่นเป็นวิถีโดยธรรม
วิถีธรรมโดยธรรม เป็นไปเพื่อความหมดสิ้นแห่งธรรมนั้นๆ
เหมือนกับกล้วยที่มันจะออกเครือ
มันเป็นของมันเอง กล้วยก็ไม่ได้ตั้งใจจะฆ่าต้นแม่มันหรอก ...แต่มันเป็นธรรมชาติที่ต้องเป็นอย่างนั้น เป็นความจริงล้วนๆ เลย
เพราะนั้น จากนั้นไป
ชีวิตทั้งชีวิตเป็นเรื่องของสัจจะ ...ใครจะบอกถูก ใครจะบอกผิด กูไม่สน มันเป็นสัจจะ ...เพราะไม่ได้เนื่องด้วยความอยากและไม่อยาก
เพราะนั้นโดยใจทั้งดวงนั่นแหละ
มันคืออริยสัจ เรียกว่าเป็นอริยสัจทั้ง ๔ อยู่ในใจเลย ...ทุกข์ก็เป็นทุกขสัจ
ทุกขอริยสัจด้วย มรรคก็เป็นมรรคสัจ เป็นมรรคอริยสัจ
สมุทัยที่ปรากฏอาการทั้งหลายทั้งปวงนั่นก็เป็นสมุทัยที่เป็นอริยสัจที่เกิดขึ้นในที่อันเดียวกัน
…เพราะนั้นอริยสัจทั้ง ๔ นี่ จะรวมอยู่ในที่เดียวกัน
จนมันพร้อม จนมันพอ
จึงจะเกิดเป็นมรรคสมังคีขึ้นมา...ของมันเองน่ะ ...เพราะนั้นวิถีตลอดสายนี่
มันเป็นเรื่องของสัจจะทั้งหมด
ไม่ได้แบ่งสมมุติ ไม่ได้แบ่งบัญญัติ
ไม่ได้แบ่งโลกุตตระ ไม่ได้แบ่งโลกียะ หรือแบ่งปรมัตถ์กับสมมุติเลย ...ทุกอย่างเป็นความจริงหมดเลย
ก็ไม่ไปหือไปอือกับมันน่ะ ...จะไม่ไปหือไปอือ ไปแตะไปต้อง ไปข้องไปเกี่ยว ไปคลอเคลีย ไปอย่างนั้นอย่างนี้ ...อะไรปรากฏขึ้น
จริงหมด ไม่หนีไม่แก้
แล้วมันจะเป็นไปในครรลองของมันเอง ...เหมือนเรือนี่ มุ่งจากมหาสมุทรใหญ่เข้าไปเรื่อยๆ จะถึงฝั่งแล้ว มันจะไปตกร่อง...ร่องน้ำของมัน มันจะมีร่อง
จากที่เราฝ่าฟันมาแทบเป็นแทบตายมานี่ ...พอมันไปๆ มาๆ เริ่มเข้าทาง พั้บ เห็นมั้ย มันมีร่องน้ำของมัน ...ลงร่องปั๊บนี่
นั่นเรียกว่าครรลองของมรรค
ทำไมถึงบอกว่าตกกระแส จิตตกกระแส...ไม่ใช่ตกออกจากกระแสนะ
(หัวเราะกัน) ...ตกเข้าไปในกระแส จิตตกกระแส กระแสของอริยมรรค
เพราะนั้นเข้าไปแล้ว
จึงบอกว่าไม่มีทางหลุด มันมีแต่พาเราเข้าฝั่ง ...พอถึงจุดนั้น ที่ว่าไอ้กูพายแทบตายนี่...ไม่พายแล้ว กูไม่พายแล้ว กูนั่งตีพุงอยู่ในเรือไปเรื่อยๆ ...นั่น มันจะเป็นครรลองของมรรค
แต่อาจจะมีบ้างที่แอบพาย แล้วก็รู้...เออ กูจะพายให้เหนื่อยทำซากอะไร เดี๋ยวกูก็ออกนอกรอบอีกหรอก ...แล้วมันก็รู้...ในร่องมันจะมีกำลังของมันไปเรื่อยๆ
เรื่อยๆ มั่นคงขึ้นเรื่อยๆ
ไม่มีทางหลุดรอดออกจากกระแสนี้ ...นี่เขาเรียกว่ากระแสของมัชฌิมา เป็นกลางในทุกสรรพสิ่ง ไม่มีเงื่อนไขต่อทุกสรรพสิ่ง
ไม่มีปัญหาต่อทุกสรรพสิ่ง
จนถึงที่สุดน่ะ...ของความเป็นกลาง ...ไม่เดือดเนื้อร้อนใจอะไรกับใคร กับทุกสิ่งเลย ...นั่นแหละถึงเรียกว่าหมดจด...แค่นั้นเอง
จนถึงที่สุดน่ะ...ของความเป็นกลาง ...ไม่เดือดเนื้อร้อนใจอะไรกับใคร กับทุกสิ่งเลย ...นั่นแหละถึงเรียกว่าหมดจด...แค่นั้นเอง
แต่ว่ามันจะยากไอ้ตอนที่พยายามว่าย
พยายามพาย แล้วก็พยายามหาร่อง เท่านั้นเอง ...ซึ่งเราบอกว่าไม่ต้องหา พายไปเถอะ
มันมีร่องอยู่แล้วในการพายที่เราพายอยู่นั้น
เพราะเราไม่ได้พายออกนอกร่องเลย มันมุ่งเข้าสู่ร่องนี้ตลอด...นี่ หมายถึงถ้ามุ่งสู่ใจนะ ...แต่ว่าถ้าออกนอกใจ มันจะออกนอกร่องไปเรื่อยๆ
นะ
ไม่งั้นพระพุทธเจ้าท่านไม่ยืนยัน
นอนยัน นั่งยัน ว่าสติปัฏฐาน ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน ใช่มั้ย ...ท่านไม่ได้พูดถึง ๗
ชาติเลยนะ ท่านว่า ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วันนะ
ทุกวันนี้ในเน็ทมันยังเขียนด่าอยู่เลย
ที่เขาถามว่ารู้ง่ายๆ อย่างนี้จะไปได้เหรอ เห็นมั้ย ถ้าพวกเราฟังปุ๊บ หวั่นไหวนะว่าเป็นไปไม่ได้ นั่น นอกจากบางคนก็มีที่มุ่งหน้าทำไป
ถึงบอกว่าถ้ามันไปทำ
พากเพียรตั้งอกตั้งใจ...เอากายเอาใจตั้ง แล้วค่อยมาคุยกันก่อน ...แต่แค่เอามาสงสัยลังเล
แล้วก็ไม่ทำอะไรสักอย่าง ...อย่าหวั่นไหวซะดีกว่า
ตั้งหน้าตั้งตาโง่เข้าไป...รู้โง่ๆ นี่แหละ มันทำได้ตลอดเวลา ...นั่น มันเข้าอยู่อย่างเดียว คือตกเข้ากระแสอริยมรรค ...โดยพวกเรายังไม่รู้หรอกว่ามันเข้ายังไง
ใครว่าไม่จริง ใครว่าไม่ได้ ...เนี่ย กูมองยังไงๆ จนทะลุออกมาหมดแล้วนี่ มองข้างหน้าก็แล้ว มองข้างหลังกลับมาแล้ว กูก็เห็นว่ามันมีอยู่ทางนี้ทางเดียว
ตั้งหน้าตั้งตาโง่เข้าไป...รู้โง่ๆ นี่แหละ มันทำได้ตลอดเวลา ...นั่น มันเข้าอยู่อย่างเดียว คือตกเข้ากระแสอริยมรรค ...โดยพวกเรายังไม่รู้หรอกว่ามันเข้ายังไง
ใครว่าไม่จริง ใครว่าไม่ได้ ...เนี่ย กูมองยังไงๆ จนทะลุออกมาหมดแล้วนี่ มองข้างหน้าก็แล้ว มองข้างหลังกลับมาแล้ว กูก็เห็นว่ามันมีอยู่ทางนี้ทางเดียว
นี่ไม่ได้ว่าตั้งใจจะไปปฏิฆะกับใคร
หรือไปคัดง้างกับใคร ...แต่เราพูดเพื่อย้ำๆๆ ว่าขอให้ตรง ตรงลงที่ใจ...ทุกอย่างน่ะจะไม่ยากอย่างที่เราคิดออกไป
โยม – พระอาจารย์มีข้อแนะนำอะไรให้โยม
พระอาจารย์ – ไม่มีอะไร อย่าทำอะไร
โยม – คราวที่แล้วโยมก็ได้ประโยชน์จากคำสอนพระอาจารย์อย่างมาก
โยม (อีกคน) – แล้วโยมล่ะคะ
พระอาจารย์ – ทำเยอะๆ (หัวเราะกัน) รู้เยอะๆ
โยม – พอไปได้ไหมคะ
พระอาจารย์ – ได้หมด ขอให้รู้ให้เป็น แล้วกลับมาอยู่ที่ใจ
รู้เยอะๆ
โยม – พระอาจารย์คะ ที่พระอาจารย์เทศน์น่ะค่ะ เหมือนกับอย่างนี้ เดี๋ยวนี้หนูก็อยากจะปฏิบัติธรรมบ้าง อยากจะไปอยู่ที่วัดอะไรอย่างนี้ค่ะ เพราะฉะนั้นนี่หมายความว่ามันเป็นกิเลสรึเปล่า เราไม่ต้องกระวนกระวาย เราไม่ต้องไปทำตาม
พระอาจารย์ – พอเวลาจะไปแล้ว มันจะปรับได้เลย เข้าใจมั้ย ...หมายความว่ามันจะไป มันไปเอง อย่าให้ความอยากพาไป ...รู้ก่อน รู้ให้เป็นก่อน นะ
โยม – ทีนี้หนูถามอีกข้อหนึ่งค่ะ ว่าที่ผ่านมานี่มันทุกข์มาก ปรากฏว่าความทุกข์นี่มันทำให้เราเห็นอะไรชัดเจนขึ้น แล้วเราก็อยู่ห่าง อย่างนั้นหนูปฏิบัติถูกไหมคะ
พระอาจารย์ – ถูกแล้ว แต่ให้สังเกตให้มากขึ้นเรื่อยๆ
ว่าใครเป็นคนรู้ว่าสุข ใครรู้ว่าทุกข์ ใครรู้ว่ายินดี ใครรู้ว่ายินร้าย อย่างนี้ ...ยินดีก็รู้
ยินร้ายก็รู้
อย่าไปคิดว่าเอาแค่ความสุขหรือความสบาย ...ใครรู้ว่าสบาย...รู้อีก รู้ซ้อนเข้าไป เจริญสติหยั่งลงไป ...สติหยั่งลงไป
เข้าใจคำว่าหยั่งลงไปมั้ย ไม่ใช่จ้อง ไม่ใช่เพ่งนะ
ใช้การเข้าไปหยั่ง...เข้าไปแตะ แล้วแยกออกจากอาการยินดียินร้ายในปรากฏการณ์นั้นๆ
คือแยกใจออกให้ได้ซะก่อน ...นี่ อันนี้เป็นคำพูดนะ สติรู้อย่างเดียว รู้ไปก่อน
แล้วมันจะค่อยๆ แยกออกเอง
โยมนี่อยู่กรุงเทพหรือเชียงใหม่
โยม – อยู่กรุงเทพฯ ค่ะ เขาชวนมา
พระอาจารย์ – ดีแล้ว นี่ไม่ใช่ว่าดวง
ไม่ใช่ว่าเคราะห์ที่ได้มาฟัง ...มันมีเหตุปัจจัยที่เพียงพอจึงได้ฟัง
โยม – เรียกว่าโชคดีเนอะ
พระอาจารย์ – ไม่ใช่โชคดี...อย่าคิดว่าโชคดีหรือโชคร้าย ...เหตุปัจจัยมันส่งมาแล้ว ให้ได้ฟัง มันเพียงพอแล้วที่จะต้องให้ทำ ให้ฟัง ให้ได้ยินแล้วเอาไปปฏิบัติ
จะฟังเข้าใจขนาดไหน
จะภูมิอกภูมิใจในธรรมที่แสดงขนาดไหน ...มันไม่สำคัญเท่ากับที่ต้องเอาไปทำ จนเกิดผล
ไม่ใช่มาอิ่มเอมดีใจว่าได้ยินได้ฟังแล้ว เข้าใจมากเลย ดีมาก อาจารย์สอนดีมาก เข้าใจหมด...แล้วไม่ไปทำอะไรเลย ก็ไม่ได้อะไร ...นั่น อย่ามาหาเราดีกว่า
กลับไปเจริญสติเยอะๆ ตั้งใจ...แล้วน้อมให้เข้าใจ ...เอาไปทำ เอาไปเจริญ เจริญสติระลึกรู้ สังเกต ...สังเกตเบาๆ ไม่ต้องแรงอะไรหรอก
ให้รู้ให้มั่น ที่รู้ว่านั่ง นี่รู้...นี่กายนั่งอีกตัวหนึ่ง
พยายามสังเกตจับมันให้ได้ว่า กายนี้ไม่ใช่ใจ...ใจไม่ใช่กาย คิดไม่ใช่ใจ...ใจไม่ใช่คิด โกรธไม่ใช่ใจ...ใจไม่ใช่โกรธ ...พูดง่ายๆ โกรธไม่ใช่รู้...รู้ไม่ใช่โกรธ อย่างนี้ ...เห็นมั้ย มันไม่ใช่ตัวเดียวกัน
แต่แรกๆ รู้ ระลึกรู้ ...ถ้าไม่มีสติมันจะไม่เห็น ต้องมีสติก่อนมันถึงจะเห็นอาการสองอาการปรากฏขึ้น...สองสภาวธรรมปรากฏ ...บ่อยๆ
อย่าท้อ อย่าถอย อย่าเบื่อ อย่ารำคาญ...ที่มันลืมอีกแล้ว หลงอีกแล้ว หายอีกแล้ว…รู้อีก หลงก็กลายเป็นอาการหนึ่งแล้วก็รู้ แล้วก็ดูตรงนั้น...แยกลงไปเลย
แต่แรกๆ รู้ ระลึกรู้ ...ถ้าไม่มีสติมันจะไม่เห็น ต้องมีสติก่อนมันถึงจะเห็นอาการสองอาการปรากฏขึ้น...สองสภาวธรรมปรากฏ ...บ่อยๆ
อย่าท้อ อย่าถอย อย่าเบื่อ อย่ารำคาญ...ที่มันลืมอีกแล้ว หลงอีกแล้ว หายอีกแล้ว…รู้อีก หลงก็กลายเป็นอาการหนึ่งแล้วก็รู้ แล้วก็ดูตรงนั้น...แยกลงไปเลย
อยากหลงดีนัก จับหลงมาเป็นบริกรรมคาถาซะเลย
พอหลงอีก...มีหลงแล้วก็รู้อีกหนึ่งอาการ อย่างนี้ …อะไรๆ
เอาสติไปแยกให้หมด แยกใจออกจากอาการให้ได้
เพราะนั้นต้องขยัน
แล้วมันจะเก็บเกี่ยวผลได้มากขึ้นๆ ...ความเบาความสบาย
ความอยู่เหนืออำนาจของกิเลสที่มันจะชักลากเราให้กระทำคำพูดอะไรออกไป...จะน้อย
จิตก็มีแต่รู้แล้ววางๆๆ ...วางลูกเดียวเลยคราวนี้ ...อะไรที่มาแตะต้องสัมผัสกับใจรู้นี่ มันจะปล่อยทันทีเลย แค่แตะปุ๊บนี่ หลุดผลอย ร่วงเลย
แต่แรกๆ นี่
บางครั้งต้องเคี่ยวเข็ญมันเลยอ่ะนะ... กว่าจะวาง กว่าจะคลายออกนี่...ต้องอดทนๆ
ต้องเป็นอย่างนั้นก่อน ...มันไม่ใช่รู้แล้วง่ายๆ ปล่อยได้ง่ายๆ หรอก
เอาแหละ...พอ
................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น